โรคอ้วน คืออะไร

ประชากร ที่เป็น"โรคอ้วน" มีจำนวนมากขึ้นทุกวันเนื่องมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารรวยมทั้งสังคม และชีวิตความเป็นอยุ่ในปัจจุบันที่เปลี่ยนไปจากอดีตการรับประทานอาหารที่ไม่ได้สัดส่วนที่เหมาะสม โดยเฉพาะอาหารประเภท คาร์โบไฮ-เดรต แป้ง  น้ำตาล และไขมันล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการสะสมของไขมัน จนเกิดโรคอ้วนและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา อาทิ โรคหลอดเลือดและหัวใจ รคความดันโลหิตสูง ดรคกระดูกและข้อเสื่อม เราจึงควรให้ความสนใจกับการดูแลสุขภาพกันมากขึ้น เพื่อความสมบูรณ์ และแข็งแรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

ความอ้วน ในที่นี้หมายถึงความอ้วนที่มากเกินไป มีน้ำหนักมากกว่าที่ควรจะเป็น ไม่ใช่อ้วนกำลังดี อ้วนพองาม หรือกำลังสวย ซึ่งเป็นความหมายที่คนทัวไปไม่ปรารถนา ถ้าคุณถูกทักว่า "ดูคุณอ้วนขึ้นนะ ทำไมเดี๋ยวนี้อ้วนจัง" คุณก็คงไม่ค่อยพอใจนัก คนที่เป็นโรคอ้วนนั้นหมายถึงผู้ที่มีปริมาณไขมันมากกว่าเกณฑ์ปกติ ซึ่งเรามีวิธีการ ดูง่ายๆ ดังนี้

1.สูตรการคำนวณน้ำหนักตัวเฉลี่ย
ผู้ชาย : ส่วนสูง(ซ.ม.)-105(+-10) = น้ำหนักที่เหมาะสม
ผู้หญิง : ส่วนสูง(ซ.ม.)-110 (+-10)= น้ำหนักที่เหมาะสม
หากผลลัพท์มากกว่าน้ำหนักจริง ถือว่าเป็นโรคอ้วน

2. กาารคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (ฺBMI  : Body Mass Index)
โดยมีสูตร ดังนี้
BMI = น้ำหนักตัวจริงเป็นกิโลกรัม/ (ส่วนสูงเป็นเมตร)ยกกำลัง2
ความหมายของคำว่า BMI
ต่ำกว่า  18.5  หมายถึง น้ำหนักน้อย
18.5-22.9  หมายถึง น้ำหนักปรกติ
23.0-24.9 หมายถึง น้ำหนักเกิน
25.0-29.9 หมายถึง โรคอ้วน
มากกว่า 30 หมายถึง โรคอ้วนมาก

สาเหตุของโรคอ้วน
1.พันธุกรรม ถ้าพ่อแม่เป็นโรคอ้วน ลูกที่เกิดมาก็มีโอกาสเป็นโรคอ้วนสูง
2.รับประทานอาหารมากเกินไปหรือการรับประทานอาหารจุบจิบระหว่างมื้อรวมถึงการรับประทานอาหารที่มีไขมันและให้พลังงานสูง
3.พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่ทำให้ร่างกายมีการนำพลังงานออกมาใช้น้อยเกินไป
4.ป่วยเป็นโรคบางชนิด เช่น Cushings Syndrome ซึ่งจะทำให้ร่างกายของผู้ที่ป่วยโรคนี้อ้วนได้อย่างมาก

ภาวะแทรกซ้อนจาก โรคอ้วน
อัตราการเสียชีวิตของคนอ้วนมากมีสูงขึ้นกว่า คนปกติถึง 2-12 เท่า อีกทั้งโรคอ้วนยังก่อให้เกิดโรครวมถึงภาวะแทรกซ้อนต่างๆของร่างกาย เช่น
1.เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิด โรคหลอดเลือดและหัวใจ 2-3 เท่า
2.เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิด โรคนิ่วในถุงน้ำดี
3.เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับ เช่น ตับแข็ง (Cirrhosis)
4.เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น ลำไส้ใหญ่ มดลูก ปากมดลูก เยื่อบุมดลูก ต่อมลูกหมาก รังไข่ เต้านม ถุงน้ำดีและตับอ่อน
5.เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกี่ยวตับไต ต่างๆ เช่น นิ่ว ไตวาย จากความดันโลหิตสูง เป็นต้น
6.เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน (DiabetesMellitus)
7.เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองแตกหรือเส้นเลือดในสมองอุดตัน (Stoke)
8.เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเป็นหมัน (Infertility)
9.เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า (Depressin) จิตใจหดหู่ เศร้าหมอง แยกกลุ่ม เก็บตัว ไม่อยากเข้าร่วมสังคมและขาดความั่นใจในตนเองเป็นต้น
10.ปัญหาต่ออาการเส้นเลือดขอด (Varicose Vein) ในบริเวณขาที่รับ น้ำหนักทั้งสองข้าง
11.ปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจและปอด นอนกรน (Snoring) ง่วงนอนในเวลากลางวัน หลับใน
12.ปัญหาต่อโรคกระดูกและข้อต่อ โรคข้อต่อเสื่อม (Osteoarthritis in Joints) โดยเฉพาะบริเวณสะโพก หัวเข่า ข้อศอก โรคเก๊าท์ (Gout)

แนวทางการลดความอ้วน
1.การลดปริมาณพลังงานที่ร่างกายได้รับจากการรับประทานอาหารในแต่ละวัน
2.การดึงไขมันส่วนเกินออกมาใช้ทดแทนพลังงานที่ขาดหายไป
3.การเพิ่มปริมาณการใช้พลังงานของร่างกายในแต่ละวัน
4.การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตในแต่ละวัน

ติดตาม เทคนิค "การลดน้ำหนักอย่างไรให้ได้ผล" ในบทความถัดไปนะคะ